วันที่ 9 ธันวาคม 2565
เวลา 18.00 น.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานแพร่ ร่วมกับ สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดแพร่ ชุมชนวัดสระบ่อแก้ว กำหนดจัดกิจกรรมเปิดตัววกิจกรรมเสนอขายแพ็คแกจชมการแสดงทางวัฒนธรรมไทยใหญ่พร้อมรับประทานอาหารแบบขันโตก ภายใต้ชื่อ “เที่ยวเมืองแพร่ แลเมืองเก่า ร่วมสืบสานวัฒนธรรม กิ๋นขันโตกไทยใหญ่ ณ วัดสระบ่อแก้ว” โดยการนำเสนอกิจกรรมการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่นักท่องเที่ยวสามารถมีส่วนร่วมและสัมผัสเสน่ห์ของเมืองแพร่ผ่านการเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์เมืองแพร่ แบบล้านนาผสมผสานกับแบบไทยใหญ่ สามารถสร้างสรรค์เป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวใหม่ทำให้เกิดการท่องเที่ยวสำหรับผู้ที่เดินทางเข้ามาในพื้นที่แพร่ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2565 – กุมภาพันธ์ 2566 โดยได้รับเกียรติจากท่านผู้ว่าชุติเดช มีจันทร์ ผวจ.แพร่ พร้อมด้วยนายกเหล่ากาชาดจังหวัดแพร่ เป็นประธานเปิดกิจกรรมฯ และหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดแพร่ และนักท่องเที่ยวจากกรุงเทพฯมหานคร ร่วมกิจกรรม กว่า 120 คน เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้ในการนำเสนอประสบการณ์ในรูปแบบงานขันโตกลานศิลปวัฒนธรรม สืบสานวัฒนธรรมไทยใหญ่ ย้อนอดีตเมืองเก่าแพร่ เพื่อนำเสนออาหารพื้นถิ่น ศิลปวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ของจังหวัดแพร่ ประกอบด้วย กิจกรรมจุดผางประทีปขอพรพระอุปคุต ชมวิถีวัฒนธรรมไทยใหญ่ ชมขบวนแห่ขันโตกแบบล้านนา มีการแต่งกายแบบย้อนยุค โดยกิจกรรมจะจัดในช่วงค่ำ ตั้งแต่เวลา 18.00 – 21.00 น. สำหรับนักท่องเที่ยวจากราคา 500 บาท/ท่าน เป็นราคาพิเศษ 300 บาท/ท่าน ครั้งละ 30 ท่านขึ้นไป) โดยจะกำหนดจัดทุกวันศุกร์หรือในช่วงเทศกาลวันหยุดพิเศษและกำหนดจัดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2565 ไปจนถึง 28 กุมภาพันธ์ 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวชาวไทยเกิดการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดแพร่เพิ่มมากขึ้นและกระตุ้นความถี่การเดินทางของนักท่องเที่ยว และเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมดังกล่าว ตลอดจนเป็นการสร้างสรรค์กิจกรรมใหม่ๆให้เกิดขึ้นในพื้นที่เพื่อเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยว รวมถึงเป็นการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนก่อให้เกิดรายได้จากการท่องเที่ยวตามนโยบายของรัฐบาล ทั้งนี้หากนักท่องเที่ยวและผู้สนใจ สามารถ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ททท.สำนักแพร่(แพร่,อุตรดิตถ์) โทรศัพท์ 054 521 127 หรือ เพจ Facebook : ททท.สำนักงานแพร่ และ สามารถติดต่อและสำรองแพ็คเกจได้ที่ สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดแพร่ โทรศัพท์ 098 226 4266 และ 080 103 1938
ดูโพสต์ต้นฉบับ
เว็บข้อมูลการท่องเที่ยวเมืองไทยเป็นภาษาอังกฤษ