Photos from ททท. สำนักงานแพร่’s post

สาธุครับ
#ประเพณีอัฐมีบูชา ประจำปี ๒๕๖๖
ระหว่างวันที่ ๓ – ๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๖
.
และวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๖
จะมีการแสดง แสง สี เสียงและร่วมพิธี #ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระจำลองขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ณ วัดพระบรมธาตุ ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
.
#วันอัฐมีบูชา คือ #วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (หลังเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ ๘ วัน)
……….
[๒๓๑] สมัยนั้น ท่านพระมหากัสสปะพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เดินทางไกลจากกรุงปาวาไปยังกรุงกุสินารา ขณะที่ท่านพระมหากัสสปะแวะลงข้างทางนั่งที่โคนไม้ต้นหนึ่ง พอดีมีอาชีวกคนหนึ่งถือดอกมณฑารพจากกรุงกุสินารา เดินสวนทางจะไปกรุงปาวา ท่านพระมหากัสสปะเห็นอาชีวกนั้นกำลังเดินมาแต่ไกล จึงถามว่า “ท่านผู้มีอายุ ท่านรู้ข่าวพระศาสดาของพวกเราบ้างไหม” เขาตอบว่า “เรารู้ข่าว ท่านพระสมณโคดมปรินิพพานได้ ๗ วันเข้าวันนี้ เราถือดอกมณฑารพดอกนี้มาจากที่ปรินิพพานนั้น”
บรรดาภิกษุเหล่านั้น ผู้ที่ยังมีราคะ บางพวกประคองแขน คร่ำครวญ ล้มกลิ้งเกลือกไปมา เหมือนคนเท้าขาด เพ้อรำพันว่า “พระผู้มีพระภาคด่วน
ปรินิพพาน พระสุคตด่วนปรินิพพานเสีย จักษุของโลกด่วนอันตรธานไปแล้ว” ส่วนภิกษุผู้ไม่มีราคะ มีสติสัมปชัญญะก็อดกลั้นได้ว่า “สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงเหล่าสัตว์จะพึงหาได้อะไรจากที่ไหนในสังขารนี้”
[๒๓๒] สมัยนั้น มีภิกษุผู้บวชตอนแก่ชื่อสุภัททะ นั่งอยู่ในที่ประชุมนั้นได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า “อย่าเลย ท่านผู้มีอายุ อย่าเศร้าโศก อย่า
คร่ำครวญเลย พวกเรารอดพ้นแล้วจากมหาสมณะรูปนั้น ที่คอยจ้ำจี้จ้ำไชพวกเราอยู่ว่า ‘สิ่งนี้ควรแก่พวกเธอ สิ่งนี้ไม่ควรแก่พวกเธอ’ บัดนี้ เราปรารถนาสิ่งใดก็จักทำสิ่งนั้น พวกเราไม่ปรารถนาสิ่งใด ก็จักไม่ทำสิ่งนั้น”
ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปะเรียกภิกษุทั้งหลายมาตักเตือนว่า “อย่าเลย ท่านผู้มีอายุ อย่าเศร้าโศก อย่าคร่ำครวญเลย พระผู้มีพระภาคตรัสสอนไว้ก่อน อย่างนี้ว่า ‘ความพลัดพราก ความทอดทิ้ง ความแปรเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นจากของรักของชอบใจทุกอย่างจะต้องมี ฉะนั้น จะพึงหาได้อะไรจากที่ไหนในสังขารนี้ สิ่งที่เกิดขึ้น มีขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ล้วนแตกสลายเป็นธรรมดา เป็นไปไม่ได้ที่จะปรารถนาว่า ‘ขอสิ่งนั้นอย่าเสื่อมสลายไปเลย”
[๒๓๓] สมัยนั้น ประมุขเจ้ามัลละ ๔ องค์ ทรงสนานพระเศียรแล้วทรงพระภูษาใหม่ ด้วยตั้งพระทัยว่า “พวกเราจะจุดไฟที่จิตกาธานของพระผู้มีพระภาค” แต่ไม่อาจจะจุดไฟให้ติดได้
ลำดับนั้น พวกเจ้ามัลละผู้ครองกรุงกุสินาราตรัสถามท่านพระอนุรุทธะว่า “ท่านอนุรุทธะ อะไรหนอแลเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่ทำให้ประมุขเจ้ามัลละ ๔ องค์นี้ ผู้ทรงสนานพระเศียรแล้วทรงพระภูษาใหม่ด้วยตั้งพระทัยว่า ‘พวกเราจะจุดไฟที่จิตกาธานของพระผู้มีพระภาค’ แต่ไม่อาจจะจุดไฟให้ติดได้เล่า” ท่านพระอนุรุทธะถวายพระพรว่า “วาเสฏฐะทั้งหลาย พวกเทวดามีความประสงค์อีกอย่างหนึ่ง”
พวกเจ้ามัลละตรัสถามว่า “พวกเทวดามีความประสงค์อย่างไร พระคุณเจ้า”ท่านพระอนุรุทธะถวายพระพรว่า “พวกเทวดามีความประสงค์ว่า ‘ท่านพระมหากัสสปะพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เดินทางไกลจากกรุงปาวามายังกรุงกุสินารา จิตกาธานของพระผู้มีพระภาคจะยังไม่ลุกโพลง ตราบเท่าที่ท่านพระมหากัสสปะยังไม่ได้ถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า” พวกเจ้ามัลละตรัสว่า “ขอให้เป็นไปตามความประสงค์ของพวกเทวดาเถิดพระคุณเจ้า”
[๒๓๔] ต่อมา ท่านพระมหากัสสปะเข้าไปยังมกุฏพันธนเจดีย์ของพวกเจ้ามัลละ ในกรุงกุสินารา ถึงจิตกาธานของพระผู้มีพระภาค ห่มจีวรเฉวียงบ่าประนมมือกระทำประทักษิณจิตกาธาน ๓ รอบเปิดผ้าคลุมทางพระบาท ถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า แม้ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านั้นก็ห่มจีวรเฉวียงบ่าประนมมือทำประทักษิณจิตกาธาน ๓ รอบ ถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า เมื่อท่านพระมหากัสสปะและภิกษุ ๕๐๐ รูป ถวายอภิวาทเสร็จ จิตกาธานของพระผู้มีพระภาคได้ติดไฟลุกโพลงขึ้นเอง
[๒๓๕] เมื่อพระเพลิงไหม้พระสรีระของพระผู้มีพระภาค พระอวัยวะ คือ พระฉวี (ผิวนอก) พระจัมมะ(หนัง) พระมังสา(เนื้อ) พระนหารู(เอ็น) หรือพระลสิกา (ไขข้อหรือ ไขกระดูก) ไม่ปรากฏเถ้า ไม่ปรากฏเขม่าเลย คงเหลืออยู่แต่พระสรีระเท่านั้น เปรียบเหมือนเมื่อไฟไหม้เนยใสและน้ำมัน ก็ไม่ปรากฏเถ้า ไม่ปรากฏเขม่า ฉันใด เมื่อพระเพลิงไหม้พระสรีระของพระผู้มีพระภาค พระอวัยวะ คือ พระฉวี พระจัมมะ พระมังสา พระนหารู หรือพระลสิกา ไม่ปรากฏเถ้า ไม่ปรากฏเขม่า คงเหลืออยู่แต่พระสรีระเท่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน และบรรดาผ้า ๕๐๐ คู่นั้น มีเพียง ๒ ผืนเท่านั้นที่ถูกไฟไหม้ คือ ผืนในสุดกับผืนนอกสุด ก็เมื่อพระเพลิงไหม้พระสรีระของพระผู้มีพระภาคแล้วแล ท่อน้ำไหลหลั่งมาจากอากาศดับจิตกาธานของพระผู้มีพระภาค น้ำพุ่งขึ้นจากไม้สาละดับจิตกาธานของพระผู้มีพระภาค พวกเจ้ามัลละผู้ครองกรุงกุสินาราดับจิตกาธานของพระผู้มีพระภาคด้วยน้ำหอมล้วนๆ ต่อจากนั้น เจ้ามัลละผู้ครองกรุงกุสินาราได้จัดกำลังพลหอกไว้รอบสัณฐาคารล้อมด้วยกำแพงธนู (ป้องกันพระบรมสารีริกธาตุของพระผู้มีพระภาค) แล้วสักการะ เคารพ นบนอบ บูชาพระสรีระของพระผู้มีพระภาคด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี ระเบียบดอกไม้และของหอมตลอด ๗ วัน
*********
ข้อความบางตอนใน มหาปรินิพพานสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐

ข้อมูล : http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=10&siri=3 #อัฏฐมีบูชา #อัฐมีบูชา
ส.ปชส.อต. ผลิต/เผยแพร่

ดูโพสต์ต้นฉบับ




Comments

comments