Photos from แพร่โพสต์ แพร่ ทุกโพสต์ ที่โดนใจ’s post

“วัดสูงเม่น” ตั้งอยู่ใน หมู่ที่ 3 ตำบลสูงเม่น อำเภอสูงเม่น ถนนยันตรกิจโกศล ห่างจากตัวเมืองแพร่ 10 กิโลเมตร
วัดสูงเม่น เป็นสถานที่ที่เก็บรวบรวมคัมภีร์คู่บ้านคู่เมืองที่มีความสมบูรณ์มากและมีคัมภีร์ใบลานจำนวนมากที่สุดในโลก เกิดจากครูบามหาเถร ผู้ที่ศึกษาพระธรรมจนแตกฉาน และแสวงบุญไปยังเมืองต่างๆ ได้มองเห็นถึงคุณค่าความสำคัญจึงเก็บรวบรวมและรักษาคัมภีร์ใบลานไว้ที่วัดสูงเม่นเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา โดยคัมภีร์ใบลานนั้นเกิดจากการจารจารึกตัวอักษรขึ้น เพื่อเป็นการสืบทอดคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพราะกลัวว่าจะสูญหายไป ซึ่งแต่เดิมนั้นคัมภีร์บาลีสืบทอดกันมาด้วยมุขปาฐะ ภาษาบาลีจึงไม่มีตัวอักขระ เป็นเพียงเสียงเท่านั้น ดังนั้นการจารจารึกคัมภีร์บาลี จึงใช้ตัวอักขระของท้องถิ่นต่างๆที่ออกเสียงตรงกัน แบ่งเป็น 4 จารีตคือ คัมภีร์ใบลานอักษรสิงหล อักษรพม่า อักษรขอมและอักษรธัมม์ในล้านนา พระธรรมคำสอนมีด้วยกันถึง 84,000 ถึงจะถูกจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในใบลาน แต่ใบลานเป็นวัสดุที่มีอายุจำกัดไม่สามารถอยู่ได้ตลอดไป ก่อนที่จะผุกร่อนไปตามกาลเวลาจึงต้องมีการคัดลอกขึ้นใหม่อยู่เสมอ การที่จะคัดลอกคัมภีร์ใบลานได้นั้นต้องอาศัยความชำนาญของผู้จารทั้งยังต้องมีความรู้ด้านอักขระโบราณที่สามารถอ่านและเขียนได้จึงจะจารได้อย่างถูกต้อง ถูกงาม และต้องใช้เวลานาน ปัจจุบันผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านอักขระโบราณมีจำนวนน้อย และเทคโนโลยีการพิมพ์ที่ทันสมัยมากขึ้น ทำให้คัมภีร์ใบลานถูกปล่อยปละละเลย ถูกทำลายและสูญหายไปอย่างน่าเสียดาย คัมภีร์ที่เหลืออยู่บ้างส่วนนั้นถูกเก็บไว้ตามหอไตรหรือพิพิธภัณฑ์โดยไม่มีการนำมาศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง

การสร้างคัมภีร์ใบลานในหมู่พุทธศาสนิกชนนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเชื่อว่าจะได้อานิสงส์ยิ่งใหญ่ที่ไม่สามารถประมาณได้ ด้วยเหตุนี้จึงมีธรรมเนียมนิยมสร้างคัมภีร์ใบลานถวายมากมาย

ส่วนประกอบคัมภีร์ธรรมใบลาน

1.ผ้าห่อคัมภีร์

ในอดีตนั้นผู้คนมีความเชื่อว่าผู้ชายจารธัมม์ หรือที่แปลว่าการเขียนธัมม์ ผู้หญิงถวายผ้าห่อคัมภีร์ จะได้รับอานิสงส์แห่งการสร้างธัมม์ เช่นเดียวกัน ผ้าห่อคัมภีร์มีหลายชนิด แล้วแต่ศรัทธาของผู้สร้าง เช่น ผ้าไหม ผ้าต่วน ผ้าซิ่น ผ้าลายขิด ผ้าทอยกดอก ผ้าทอยกดิ้น เป็นต้น

2.ไม้ปันจั๊กหรือไม้ฉลาก

เป็นไม้ที่ไว้สลักชื่อ วันเดือนปีและสถานที่สร้าง เพื่อบ่งบอกถึงผู้สร้าง ซึ่งไม้จะมีทั้งสีทองและสีของไม้ธรรมดา

แล้วแต่ความต้องการของผู้สร้าง

3.ใบลาน

บันทึกด้วยอักษรธัมม์ล้านนา โดยใช้เหล็กจาร แล้วจะมัดรวมเป็นผูกโดยทั่วไปจะนับ 24 ลานเป็นเกณฑ์ เมื่อจารครบ 24 ลาน จะมัดรวมกันเป็น 1 ผูก ในคัมภีร์มัดหนึ่งจะมีจำนวนผูกมากน้อยต่างกัน บางเรื่องจบเพียง 4 ผูก แต่บางเรื่องอาจยาวถึง 20-30 ผูก การมัดใบลานรวมเป็นผูกจะใช้ สายสนอง คือไหมหรือด้าย ร้อยตามรูที่เจาะเอาไว้

4.ไม้ประกบ เป็นแผ่นไม้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างยาวเท่าใบลานและหนาประมาณ1-2 เซนติเมตร ส่วนใหญ่ทำจากไม้เนื้อแข็ง ใช้ขนาบ 2 ข้าง เป็นปกหน้าและปกหลัง อาจมีการตกแต่งให้สวยงาม และเรียกตามลักษณะของวัสดุที่ใช้ตกแต่ง เช่น ไม้ประกับไม้สักธรรมดา ไม้ประกับแกะสลัก ไม้ประกับประดับมุก ไม้ประกับประดับกระจก เป็นต้น

ใบลาน มีชื่อเรียกต่างกันตามลักษณะทางกายภาพ

1.คัมภีร์ใบลานฉบับทองทึบ เอกลักษณ์มีขอบคัมภีร์ทาทองทึบทั้ง 4 ด้าน

2.คัมภีร์ใบลานฉบับล่องชาด เอกลักษณ์มีขอบคัมภีร์ด้านข้างทางยาวทาชาดตรงกลางทาทองขนาบ 2 ข้าง

3.คัมภีร์โบราณฉบับล่องรัก เอกลักษณ์มีขอบคัมภีร์ทารักตรงกลางทาทองขนาบ 2 ข้าง

4.คัมภีร์ใบลานฉบับรักทึบ เอกลักษณ์มีขอบคัมภีร์ทารักทึบทั้ง 4 ด้าน

5.คัมภีร์ใบลานฉบับลานดิบ เอกลักษณ์มีขอบคัมภีร์ไม่มีการตกแต่ง

มีการจารึกไว้ว่า “สิริรวมพระคัมภีร์ที่ได้บรรจุไว้ในหอไตรวัดสูงเม่นครั้งนี้มี 2,567 มัด นับเป็นผูกได้ 8,845 ผูก เป็นโปฎก๋าใบลานได้ 85,000 ใบลาน ล้วนแล้วแต่เป็นภาษาบาลี โดยเป็นวินัยและอังคุตตระนิกาย 486 ผูก เป็นมัดมี 89 มัด จัดเป็นใบลานได้ 14,800 ใบลาน ส่วนที่เป็นบาลีอรรถกถามี 2,567 มัด มีมูลกัจจายนะ บาลีศัพท์สูตร บาลีสังขยา บาลีสนธิ บาลีสมาส ขยาดกิต สนธิ และธัมมะปาต๊ะ”

วัดสูงเม่นได้สร้างหอธัมม์และพิพิธภัณฑ์คัมภีร์ใบลานไว้เพื่อการสร้างและเก็บสะสมคัมภีร์เพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์ จึงมีประเพณีที่สำคัญเกิดขึ้นคือ “ประเพณีตากธัมม์ ตานข้าวใหม่ หิงไฟพระเจ้า” ที่จัดขึ้นปีละครั้งในช่วงเดือนมกราคม และยังมีเทศกาลและกิจกรรมต่างๆที่ให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน

ดูโพสต์ต้นฉบับ

Photos from ททท. สำนักงานแพร่’s post

๑๔ กันยายน ๖๖ เริ่มเวลา ๐๙.๐๐ น.
ประเพณีตานสลากข้าวหม้อ
ณ วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง
๑ ปี มี ๑ ครั้ง หนึ่งเดียวในโลก ร่วมกันสืบสานประเพณีตานสลากข้าวหม้อ ประจำปี ๒๕๖๖ ทุกวันแรม ๑๔ ค่ำเดือน ๙ ใต้เดือน ๑๑ เหนือของทุกปี

#ปริศนาธรรมชีวิตดั่งหม้อดินแตกสลายแล้วกลับสู่สภาพเดิมไม่ได้

ดังนั้นชีวิตของคนเราต้องประคับประคองด้วยความไม่ประมาท

⭕ ท่านใดที่ไม่ได้มาสามารถร่วมทำบุญ ตามกำลังศรัทธาบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ เลขที่บัญชี 5182559690ชื่อบัญชี วัดพระธาตุช่อแฮ (กองทุนสลากข้าวหม้อ-ก๋วย)

⭕ ส่งหลักฐานการโอนเงิน พร้อมชื่อที่อยู่ เพื่อการอนุโมทนาและออกใบอนุโมทนาบัตร ทางกล่องข้อความ

🙏อนฺนโท พลโท โหติ.
🙏ผู้ให้ข้าว ชื่อว่าให้กำลัง.

#เที่ยวแพร่365วัน

ดูโพสต์ต้นฉบับ

Photos from LIVE TO LIFE’s post

มาเที่ยว ‘แพร่’ ต้องทำอะไรดี ?
.
ถ้าพูดถึงจังหวัดแพร่ หลายคนคงนึกถึงอากาศบริสุทธิ์ ท้องทุ่งเขียวขจี แนวภูเขาสลับซับซ้อน พระธาตุช่อแฮ และวนอุทยานแพะเมืองผี แลนด์มาร์กที่ใครมาเที่ยวแพร่ก็ต้องแวะไปชม
.
แต่ครั้งนี้เราขอชวนมาเปลี่ยนบรรยากาศ ไปเดินเล่นทุกตรอกซอกซอยของตัวเมืองจังหวัดแพร่ ในย่านเมืองเก่าแก่ที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย แต่ยังมีสิ่งน่าสนใจมากมายรอให้ทุกคนไปสัมผัส ไม่ว่าจะเป็น วัดโบราณ ตลาด บ้านเก่า ร้านของอร่อยในตำนานที่มีอยู่ทุกมุมถนน รวมไปถึงงานคราฟต์สวย ๆ จากศิลปินชาวเมืองแพร่ที่นำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาดีไซน์ใหม่ให้ร่วมสมัย
.
พร้อมจะเดินซอกแซก เข้าตรอกนี้ ทะลุตรอกนั้นแล้วหรือยัง ? ถ้าพร้อมแล้วก็ไปกันเลย ~

อ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ได้ที่ bit.ly/44z9eaS

#เที่ยวเหนือ #แพร่ #travel #Thailand #ไทยประกันชีวิต #LIVETOLIFE #แรงบันดาลใจให้ชีวิตเต็มสุข

ดูโพสต์ต้นฉบับ

Photos from ททท. สำนักงานแพร่’s post

วันที่ 2 ของงานเทศกาลดนตรีและอาหาร จังหวัดแพร่ Music and Food Festival in Phrae ๒๐๒๓ ณ กาดเมกฮิมคือ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

ชมชิมการประกวด ลาบเมืองแพร่

และชมมินิคอนเสิร์ต เบส เดอะวอย

ดูโพสต์ต้นฉบับ